top of page
ประวัติความเป็นมา

        จากปัญหาทางด้านสาธารณสุขของภาคใต้และความขาดแคลนบุคลากรทางการแพทย์และสาธารณสุขของประเทศ รวมทั้งเพื่อให้การดำเนินการเป็นไปตามแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 3 (พ.ศ.2514-2518) รัฐบาลจึงมีดำริให้จัดตั้งคณะแพทยศาสตร์เพิ่มขึ้น และสภาการศึกษาแห่งชาติได้อนุมัติให้มีโครงการจัดตั้งคณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ เมื่อวันที่ 17 สิงหาคม 2514 โดยมีเป้้าหมายในการผลิตบุคลากรทางการแพทย์ พยาบาล และสาธารณสุข    เพื่อตอบสนองความต้องการของประเทศและส่วนภูมิภาคโดยเฉพาะในภาคใต้

         พ.ศ. 2515: ได้มีประกาศราชกิจจานุเบกษาให้คณะแพทยศาสตร์เป็นหน่วยงานระดับคณะของมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ และสภามหาวิทยาลัยได้มีมติให้ตั้งคณะแพทยศาสตร์ ณ วิทยาเขตหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา โดยในระยะแรกประกอบด้วย 11 ภาควิชา กับ 2 หน่วยงาน ภาควิชากุมารเวชศาสตร์รับผิดชอบการจัดการเรียนการสอนวิชากุมารเวชศาสตร์ของหลักสูตรแพทยศาสตรบัณฑิต

         พ.ศ. 2516: คณะแพทยศาสตร์รับนักศึกษารุ่นแรก จำนวน 35 คน โดยเรียนภาคทฤษฎี 3 ปีีแรกที่คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตหาดใหญ่

         พ.ศ. 2519: นักศึกษาแพทย์รุ่นแรกขึ้นชั้นปีีที่ 4 เรียนวิชา Introduction to clinical medicine และฝึกปฎิบัติงานด้านคลินิกที่โรงพยาบาลหาดใหญ่ เนื่องจากการก่อสร้างโรงพยาบาลสงขลานครินทร์มีความล่าช้ากว่าแผน ภาควิชากุมารเวชศาสตร์ช่วงนั้นมีสำนักงานชั่วคราวอยู่ที่ชั้นล่างของคณะวิศวกรรมศาสตร์ และบางส่วนที่โรงพยาบาลหาดใหญ่ คณะแพทยศาสตร์ได้เพิ่มการรับนักศึกษาแพทย์เป็น 64 คนต่อปีี และเพิ่มขึ้นอีกตามแผนการรับนักศึกษาเป็น 96 คนต่อปีี ในปีี พ.ศ. 2527-2535 จำนวน 126 คนต่อปีี ในช่วง พ.ศ. 2536-2541 จำนวน 146 คนต่อปีี ตั้งแต่ปีี พ.ศ. 2542-2544 และปีี พ.ศ. 2545 เหลือ 140 คน เนื่องจากลดจำนวนนักศึกษาโควตาจังหวัดลง

         พ.ศ. 2520: ภาควิชากุมารเวชศาสตร์และภาควิชาต่างๆ เริ่มจัดการเรียนการสอนและการฝึกปฏิบัติงานบนหอผู้ป่วยสำหรับนักศึกษาแพทย์ชั้นปีีที่ 5-6 ที่หอ ผู้ป่่วยโรงพยาบาลหาดใหญ่ และโรงพยาบาลสงขลา เนื่องจากขณะนั้นโรงพยาบาลสงขลานครินทร์เพิ่งเริ่มก่อสร้างในช่วงแรก พ.ศ. 2520-2525 คณะแพทยศาสตร์ขาดบุคลากรด้านอาจารย์อย่างมาก ต้องเชิญอาจารย์พิเศษจากคณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี คณะแพทยศาสตร์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย หมุนเวียนกันมาช่วยสอนนักศึกษาแพทย์

         พ.ศ. 2521: นักศึกษาแพทย์รุ่นแรกจบแพทยศาสตรบัณฑิต จำนวน 35 คน ภาควิชากุมารเวชศาสตร์ได้ย้ายสำนักงานชั่วคราวมาอยู่ที่ ชั้น 4 อาคารบริหารคณะแพทยศาสตร์

         พ.ศ. 2523: ปรับหลักสูตรแพทยศาสตรบัณฑิตเป็น 277 หน่วยกิต นักศึกษาแพทย์จบการศึกษาพร้อมกับรับใบประกอบวิชาชีพเวชกรรมใน 6 ปีี ปรับให้นักศึกษาผ่านการเรียนการสอนวิชากุมารเวชศาสตร์ในชั้นปีีที่ 4, 5 และ 6

         พ.ศ. 2525: โรงพยาบาลสงขลานครินทร์เปิดให้บริการจำนวน 100 เตียง นักศึกษาแพทย์ที่เวียนมาปฎิบัติงานที่ภาควิชากุมารเวชศาสตร์ยังคงปฎิบัติงานที่ โรงพยาบาลหาดใหญ่ และโรงพยาบาลสงขลา โดยอาจารย์จะต้องหมุนเวียนให้บริการที่โรงพยาบาลหาดใหญ่และโรงพยาบาลสงขลานครินทร์ และจัดการเรียนการสอนที่โรงพยาบาลหาดใหญ่และโรงพยาบาลสงขลาด้วย 

         พ.ศ. 2526: ภาควิชากุมารเวชศาสตร์ได้ย้ายสำนักงานจากอาคารบริหารคณะแพทยศาสตร์ มายังสถานที่ตั้งปัจจุบัน ณ ชั้น 4 อาคาร กุมารเวชศาสตร์–สูติศาสตร์นรีเวชวิทยา โรงพยาบาลสงขลานครินทร์ นักศึกษาแพทย์ชั้นปีที่ 4, 5 และ 6 ยังคงหมุนเวียนปฏิบัติงานที่โรงพยาบาลสงขลานครินทร์ และโรงพยาบาลหาดใหญ่

         พ.ศ. 2527: ภาควิชากุมารเวชศาสตร์จัดอบรมวิชาการประจำปีีสำหรับแพทย์ นับเป็นครั้งแรกของคณะแพทยศาสตร์ ที่จัดให้มีการอบรมวิชาการสำหรับแพทย์และบุคลากรสาธารณสุข และต่อมาภาควิชาฯ ได้จัดอบรมวิชาการประจำปีอย่างต่อเนื่องจนถึงปัจจุบัน

         พ.ศ. 2528: ภาควิชาฯ เปิดการฝึกอบรมแพทย์ประจำบ้านสาขากุมารเวชศาสตร์ นับเป็นภาควิชาแรกของคณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์  โดยมีคณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี คณะแพทยศาสตร์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล โรงพยาบาลเด็กหาดใหญ่เป็นสถาบันสมทบ ในระยะแรก พ.ศ. 2528-2535 ส่งแพทย์ประจำบ้านไปเรียน ณ สถาบันสมทบที่กรุงเทพฯ ในชั้นปีีที่ 2 เป็นเวลา 1 ปีี ในปีี พ.ศ. 2536 ได้ลดระยะเวลาไปเรียนและฝึกปฎิบัติงาน ณ โรงพยาบาลสมทบเหลือเพียง 6 เดือน

         ในปีีนี้เป็นปีีแรกที่ภาควิชาฯ มีแพทย์ใช้ทุน 4 คน เข้ามาปฎิบัติงาน และฝึกอบรมคู่ขนานไปกับแพทย์ประจำบ้าน

         พ.ศ. 2531: เปิดหออภิบาลผู้ป่วยสำหรับเด็ก (Pediatrics Intensive Care Unit; PICU) เพื่อให้บริการผู้ป่วยเด็กมีภาวะวิกฤตจำนวน 4 เตียง

          ในปีีนี้เป็นปีีแรกที่แพทย์ประจำบ้าน สำเร็จการฝึกอบรมได้รับวุฒิบัตรฯ

         พ.ศ. 2533: เป็นปีีแรกที่แพทย์ใช้ทุนของภาควิชาฯ เข้าร่วมสอบและได้รับวุฒิบัตรฯ ซึ่งต่อมาภาควิชาฯมีแพทย์ใช้ทุนเข้ามาปฎิบัติงานและสอบเพื่อวุฒิบัตรฯทุกปีี

         พ.ศ. 2536: ปรับหลักสูตรแพทยศาสตรบัณฑิต ให้สอดคล้องกับเกณฑ์ของทบวงมหาวิทยาลัยจาก 277 หน่วยกิต ลดเหลือ 248 หน่วยกิต ภาควิชากุมารเวชศาสตร์ได้ปรับหลักสูตรวิชากุมารเวชศาสตร์ จากการเรียนชั้นปีีที่ 4 จำนวน 5 หน่วยกิต ชั้นปีีที่ 5 จำนวน 6 หน่วยกิต และชั้นปีีที่ 6 จำนวน 8 หน่วยกิต เป็นชั้นปีีที่ 5 จำนวน 10 หน่วยกิต และชั้นปีีที่ 6 จำนวน 7 หน่วยกิต

         ในปีีนี้คณะแพทยศาสตร์ได้มีนโยบายให้มีการประกันและพัฒนาคุณภาพทั่วทั้งองค์กร ภาควิชากุมารเวชศาสตร์ได้ดำเนินและพัฒนางานทุกภารกิจ เพื่อประกันและพัฒนาคุณภาพอย่างต่อเนื่อง

         พ.ศ. 2537: คณะแพทยศาสตร์ร่วมกับคณะวิทยาศาสตร์ปรับหลักสูตรแพทยศาสตรบัณฑิตชั้นปรีคลินิก จากการเรียนตามภาควิชาให้มีการบูรณาการระหว่างภาควิชา และแบ่งรายวิชาตามระบบอวัยวะและวงจรชีวิต

         พ.ศ. 2542: ภาควิชาฯ มีความพร้อมในการจัดการฝึกอบรมแพทย์ประจำบ้านได้เอง จึงได้ปรับการจัดการฝึกอบรมให้มีการเรียนการสอนและปฎิบัติงานของแพทย์ประจำบ้านทั้ง 3 ชั้นปีีอยู่ภายในภาควิชาฯ โดยไม่ต้องส่งไปยังสถาบันสมทบที่กรุงเทพฯ

          พ.ศ. 2543: คณะแพทยศาสตร์ปรับหลักสูตรแพทยศาสตรบัณฑิต โดยมีการบูรณาการของสาขาวิชาเปลี่ยนชื่อรายวิชาใหม่ และจัดการเรียนการสอนเป็นแบบ Block ภาควิชาฯได้มีส่วนร่วมในการปรับหลักสูตรใหม่ และเป็นแกนกลางในการจัดทำหลักสูตรรายวิชา  “สุขภาพและโรคตั้งแต่ระยะปฏิสนธิถึงวัยรุ่น 1, 2, 3 (Health and diseases: from conception to adolescence I, II, III) และเปิดรายวิชานี้ในปีีการศึกษา 2545 การจัดทำหลักสูตรในรายวิชานี้มีกรรมการรายวิชา ซึ่งมีอาจารย์ของภาควิชาฯ เป็นประธาน มีกรรมการประกอบด้วยอาจารย์ของภาควิชาฯ เองและอาจารย์จากภาควิชาที่เกี่ยวข้องอีกหลายท่าน เพื่อทำให้หลักสูตร      แพทยศาสตรบัณฑิตครอบคลุมในมุมมองที่กว้างขึ้น สามารถบรรลุวัตถุประสงค์ที่ต้องการส่งเสริมให้นักศึกษามีสามัตถิยะ 9 ประการ และมีการเปิดให้บริการการรักษาด้วย cardiac intervention

         พ.ศ. 2545: มีการขยายการบริการและเพิ่มศักยภาพของหออภิบาลผู้ป่วยเด็ก (PICU) จากจำนวน 4 เตียงในปี 2531 เป็นจำนวน 8 เตียง เพื่อรองรับผู้ป่่วยเด็กที่อยู่ในภาวะวิกฤตและให้การดูแลเป็นพิเศษ ด้านการจัดการศึกษาหลังปริญญา ภาควิชาฯ ได้รับการตรวจประเมินการจัดฝึกอบรมแพทย์ประจำบ้าน โดยกรรมการตรวจประเมินของราชวิทยาลัยกุมารแพทย์แห่งประเทศไทย เมื่อวันที่ 24-25 มิถุนายน 2545 ซึ่งได้ผ่านการประเมินในระดับ ดีเยี่ยม

         พ.ศ. 2546: คณะแพทยศาสตร์ได้จัดทำหลักสูตรประกาศนียบัตรบัณฑิตชั้นสูง สาขาวิทยาศาสตร์การแพทย์คลินิก หลักสูตรใหม่ พ.ศ. 2546 ภาควิชาฯ    รับผิดชอบสอนในรายวิชาสาขากุมารเวชศาสตร์ จำนวน 38 หน่วยกิต

         พ.ศ. 2547: ภาควิชาฯ ได้เปิดการฝึกอบรมแพทย์ประจำบ้านต่อยอด โดยได้รับการอนุมัติจากแพทยสภา ให้เปิดการฝึกอบรมฯ ใน 3 อนุสาขา คือ           1) อนุสาขากุมารเวชศาสตร์ทารกแรกเกิดและปริกำเนิด 2) อนุสาขากุมารเวชศาสตร์ต่อมไร้ท่อและเมตาบอลิสม 3) อนุสาขากุมารเวชศาสตร์โรคหัวใจ

          พ.ศ. 2548: คณะแพทยศาสตร์ได้ปรับหลักสูตรประกาศนียบัตรบัณฑิตชั้นสูงสาขาวิทยาศาสตร์การแพทย์คลินิก ในส่วนของสาขากุมารเวชศาสตร์ปรับลดจำนวนหน่วยกิตจากเดิม 38 หน่วยกิต เหลือ 27 หน่วยกิต

         พ.ศ. 2549: ภาควิชาฯ ได้รับอนุมัติให้เปิดการฝึกอบรมแพทย์ประจำบ้านต่อยอด อนุสาขากุมารเวชศาสตร์โรคภูมิแพ้และภูมิคุ้มกัน

         พ.ศ. 2551: ภาควิชาฯ ได้รับการตรวจประเมินการจัดฝึกอบรมแพทย์ประจำบ้านต่อยอด โดยกรรมการตรวจประเมินของราชวิทยาลัยกุมารแพทย์แห่งประเทศไทย 3 อนุสาขาวิชาดังนี้

         - อนุสาขากุมารเวชศาสตร์โรคหัวใจ เมื่อวันที่ 21 พฤศจิกายน 2551

         - อนุสาขากุมารเวชศาสตร์ทารกแรกเกิดและปริกำเนิด วันที่ 1 ธันวาคม 2551

         - อนุสาขากุมารเวชศาสตร์ต่อมไร้ท่อและเมตาบอลิซึม วันที่ 12 ธันวาคม 2551

         ซึ่งผ่านการประเมินทั้ง 3 อนุสาขา

         พ.ศ. 2552: เริ่มการจัดการเรียนการสอนชีวันตาภิบาล (Palliative care) สำหรับ นศพ.ปีี 5 และปีี 6

         พ.ศ. 2553: หน่วยโลหิตวิทยาและมะเร็งวิทยา ได้เริ่มการรักษาด้วยวิธี Autologous bone marrow transplantation และหน่วยโรคหัวใจ เริ่มมีการทำ Neonatal open heart surgery care

         พ.ศ. 2554: ภาควิชาฯ ได้รับการตรวจประเมิน จากราชวิทยาลัยกุมารแพทย์แห่งประเทศไทย และอนุมัติให้เป็นสถาบันฝึกอบรมหลักในอนุสาขาโลหิตวิทยาและมะเร็งในเด็ก เพิ่มอีก 1 อนุสาขา และหน่วยโรคหัวใจ มีการทำ Complex open heart surgery care

         พ.ศ. 2555: ภาควิชาฯ ได้รับการตรวจประเมินคุณภาพภายนอก จากคณะอนุกรรมการฝึกอบรมและสอบเพื่อวุฒิบัตรกุมารเวชศาสตร์ ราชวิทยาลัย    กุมารแพทย์แห่งประเทศไทย และได้รับการรับรองคุณภาพของสถาบันฝึกอบรมแพทย์ประจำบ้าน ในปีีเดียวกันหน่วยโรคหัวใจ มีการทำ International workshop การรักษาผ่านสายสวนหัวใจ VSD device closure

         พ.ศ. 2556: ภาควิชาฯ ได้รับการตรวจประเมินคุณภาพภายนอก จากคณะอนุกรรมการฝึกอบรมและสอบเพื่อวุฒิบัตรกุมารเวชศาสตร์ ราชวิทยาลัยกุมารแพทย์แห่งประเทศไทย และได้รับการรับรองคุณภาพของสถาบันฝึกอบรมแพทย์ประจำบ้านต่อยอด สาขาทารกแรกเกิด ต่อมไร้ท่อและเมตาบอลิซึม โรคภูมิแพ้และ    อิมมูโนวิทยา โรคหัวใจ และโลหิตวิทยาและมะเร็งในเด็ก

             - หน่วยโลหิตวิทยาและมะเร็งในเด็ก ให้การรักษาผู้ป่วยด้วยการปลูกถ่ายไขกระดูกโดยใช้เซลล์ต้นกำเนิดเม็ดโลหิตชนิด Allogeneic Bone Marrow Transplantation

             - หน่วยทารกแรกเกิด เริ่มการรักษาด้วยเครื่องทำอุณหภูมิกายต่ำ (Therapeutic Hypothermia)

         พ.ศ. 2558: ภาควิชาฯ ได้รับการขึ้นทะเบียนเป็นหน่วยบริการรักษาโรคมะเร็งเม็ดเลือดขาวและมะเร็งต่อมน้ำเหลืองด้วยวิธีปลูกถ่ายไขกระดูกโดยใช้เซลล์    ต้นกำเนิดเม็ดโลหิตสำหรับผู้ป่วยเด็กจากสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ

             - ให้การรักษาผู้ป่วยด้วยเครื่อง Extracorporeal membrane oxygenation (ECMO) ใน PICU เป็นครั้งแรก 

          พ.ศ. 2559: ภาควิชาฯ ได้รับอนุมัติให้เปิดการฝึกอบรมแพทย์ประจำบ้านต่อยอด อนุสาขากุมารเวชศาสตร์โรคระบบทางเดินหายใจเพิ่มอีก 1 อนุสาขา

             - หน่วยโรคหัวใจได้เริ่มการทำ Radiofrequency perforation for pulmonic valvulotomy in Pulmonaryatresia/pulmonary stenosis

         พ.ศ. 2560: ภาควิชาฯ ได้รับการรับรองเป็น Transplant Center ในการปลูกถ่ายเซลล์ต้นกำเนิดเม็ดโลหิตจากผู้บริจาคที่ไม่ใช่ญาติจากศูนย์บริการโลหิตแห่งชาติ สภากาชาติไทย

             - หน่วยโรคหัวใจมีการทำ PDA stent, Percutaneous pulmonic valve implantation และ Live case transmission to International conference in Vietnam

         พ.ศ. 2561: หน่วยทารกแรกเกิด ได้เริ่มบริการ ธนาคารนมแม่บริจาค (Donor milk bank) นับเป็นแห่งที่ 3 ในประเทศไทยต่อจากโรงพยาบาลรามาธิบดี และโรงพยาบาลศิริราช

             เนื่องจากมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ได้ออกนอกระบบราชการ ภาควิชาฯ จึงได้เปลี่ยนเป็น สาขาวิชา เปิดหลักสูตรวิชาเลือกเสริมประสบการณ์ สำหรับนักศึกษาแพทย์ชั้นปีีที่ 6 เริ่มการจัดการเรียนการสอน Patient safety สำหรับนศพ.ชั้นปีีที่ 6 และมีการฝึกอบรม International Interventional Cardiology ให้กุมารแพทย์จากประเทศพม่า

 

bottom of page